ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โปรแกรมที่ปิดโค้ดหรือโปรแกรมที่เปิดโค้ด อันไหนมีความปลอดภัยมากกว่ากัน ?

 นกเป็นผู้นักพัฒนาระบบกำลังมองว่าโปรแกรมนำมาใช้งาน โดยตัวเลือกมีทั้งโปรแกรมที่ปิดโค้ดและโปรแกรมที่เปิดโค้ด นกตัดสินใจไม่ถูกว่าโปรแกรมอันไหนดีกว่ากัน เรามาหาคำตอบกัน

โปรแกรมที่ปิดโค้ด เป็นโปรแกรมที่ปกปิดโค้ดการทำงานของโปรแกรม เพราะเหตุผลทางด้านการค้าหรือใด ๆ ตัวอย่างโปรแกรมที่ปิดโค้ดนี้ได้แก่ Windows , Word เป็นต้น

ในขณะที่โปรแกรมที่เปิดโค้ด เป็นโปรแกรมที่เปิดโค้ดและการทำงานโปรแกรมให้ได้ดูกัน โปรแกรมที่เปิดโค้ดมีทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี ได้แก่ แกนลินุกซ์ , Red Hat Linux เป็นต้น

แต่ว่าโปรแกรมแบบไหนมีความปลอดภัยมากกว่าล่ะ ?

โปรแกรมที่เปิดโค้ด มีข้อดีคือ เปิดการทำงานโปรแกรม ผู้ที่นำโปรแกรมไปใช้งานสามารถตรวจสอบโค้ดและปรับแต่งการทำงานให้เหมาะสมได้ และ เมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัย สามารถรายงานโดยตรงกับนักพัฒนาโปรแกรมนั้นได้ หากนักพัฒนาเลิกพัฒนาเวชั่น/โปรแกรม ก็ยังคงสามารถรับ path ความปลอดภัยจากชุมชนได้ เป็นต้น

โปรแกรมที่ปิดโค้ด มีข้อดีคือ มีการทดสอบโปรแกรมและคอยออก Path แก้ไขข้อผิดพลาดจากโปรแกรมโดยตรงจากบริษัทที่พัฒนา มีค่าหัวให้กับแฮกเกอร์ที่หาช่องโหว่โปรแกรมและรายงานกลับไปได้ (โปรแกรมที่เปิดโค้ดบางตัวก็ทำ) เป็นต้น

ข้อเสีย

โปรแกรมที่เปิดโค้ด - มีโอกาสเจอปัญหาความปลอดภัย หากโปรแกรมนั้นมีการตรวจสอบคุณภาพไม่ดีพอ และเรื่องความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

โปรแกรมที่ปิดโค้ด - มีโอกาสเจอปัญหาความปลอดภัยจากคนภายนอกที่บริษัทที่พัฒนาไม่รู้แล้วไม่รายงานกลับไป แล้วใช้ช่องโหว่ความปลอดภัยนั้นในทางที่ไม่ดี และ ความน่าเชื่อถือ เราต้องเชื่อในมาตาการความปลอดภัยของบริษัทกับโปรแกรมที่ใช้งานว่าไม่มีวางช่องโหว่ความปลอดภัยหรือประตูหลังไว้ในโปรแกรมที่จำหน่าย เป็นต้น

แล้วอะไรปลอดภัยมากกว่ากัน ?

ไม่มีอะไรปลอดภัยมากกว่ากัน ทั้งสองแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

ทางที่ดีคุณควรติดตามข่าวสารโปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่บ่อย ๆ หากโปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่มีความสำคัญสูง เมื่อมีการออกเวชั่นใหม่ไม่ควรที่จะอัพเดรตทันที แต่ควรทดสอบให้แน่ใจกันว่าอัพเดรตแล้วจะไม่มีปัญหาตามมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บรรณานุกรมกับ Zotero เรื่องน่าปวดหัวของนศ.มข.

เอาล่ะ ก่อนอื่นเรามาเริ่มที่บรรณานุกรม คืออะไร แบบย่อ ๆ บรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงเอกสารหรือเอกสารอ่านเพิ่มเติมที่เรานำมาจัดทำรายงาน หนังสือ รวมไปถึงวิทยานิพนธ์ด้วย เป็นการอ้างอิงกันทางวิชาการถือเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและต้องมี ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง

ฝึกงาน IST @ VISTEC : วันที่ 0 เข้าหอพัก

สวัสดีครับ ช่วงปิดเทอมของปี 2 ผมได้โอกาสไปฝึกงานกับ IST ที่ VISTEC ในโครงการ "IST Research Internship 2019"

เชื่อมต่อ kku-wifi-s ใน Linux (ใช้งานได้กับ Raspberry Pi)

สวัสดีครับ ผมได้ใช้ Raspberry Pi แต่ผมติดปัญหาที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s  ได้ เนื่องจากการตั้งค่าที่เป็นปัญหา ทำให้ผมหาวิธีจนสามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s ได้ โดยทำตามวิธีดังนี้ครับ