ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บรรณานุกรมกับ Zotero เรื่องน่าปวดหัวของนศ.มข.

เอาล่ะ ก่อนอื่นเรามาเริ่มที่บรรณานุกรม คืออะไร แบบย่อ ๆ บรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงเอกสารหรือเอกสารอ่านเพิ่มเติมที่เรานำมาจัดทำรายงาน หนังสือ รวมไปถึงวิทยานิพนธ์ด้วย เป็นการอ้างอิงกันทางวิชาการถือเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและต้องมี ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง


ปัญหาหนึ่งในเวลาทำรายงานนั้นก็คือ การทำบรรณานุกรม นั้นเอง การทำบรรณานุกรมนั้นบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย ใช้กฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน แถมมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เช่น ตอนนี้ผมอยู่มหาลัย ผมไม่สามารถเอารูปแบบบรรณานุกรมที่ทำตอนมัธยมมาใช้งานได้ทันที จะต้องเรียนรู้ว่ามหาลัยมีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง ซึ่งไม่สนุกเท่าไรเลย แถมการทำบรรณานุกรมใส่โปรแกรม word ยังยากต่อการหาเอกสารเพื่อศึกษาในภายหลังตามมา

พอได้มาเรียนวิชาทั่วไปของมหาลัย ปี 1 โปรแกรม Zotero เป็นโปรแกรมไว้เก็บเอกสารต่าง ๆ รวมถึงสามารถทำอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ผมได้เรียนมาว่าให้เลือกรูปแบบ The American Psychological Association - APA (2001) ทำบรรณานุกรมของมข. ซึ่งน่าจะสะดวกในการทำบรรณานุกรมกับอ้างอิงในบทความได้ง่ายยิ่งขึ้นต่อการทำรายงานรูปเล่มส่งกับวิชาเรียนในมหาวิทยาลัย

แต่... เปล่าเลย ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีรูปแบบการอ้างอิงกับบรรณานุกรมที่ไม่เหมือนกับรูปแบบ The American Psychological Association - APA (2001) ซะทีเดียว ... ถึงจะคล้ายกัน แต่ก็ต้องเอามาปรับแก้เองหลายจุดอยู่มาก ...

ผมไม่อยากพิมพ์อ้างอิงเอง ไม่อยากเสียเวลาปรับแก้ อยากใช้โปรแกรม Zotero เพราะผมจัดหมวดหมู่อะไรเป็นระเบียบเรียบร้อยง่ายต่อการค้นหาเอกสารกว่า bookmark ปกติ ...

ผมจึงแก้ปัญหาโดยทำรูปแบบ มข. ขึ้นมาซะเลย โดยปรับแต่งไฟล์รูปแบบ The American Psychological Association - APA (2001) มาให้ตามกฎรูปแบบของ มข. ผลลัพธ์ออกมาน่าพอใจ ถึงจะปรับแต่งบ้างแต่ก็ไม่เยอะเท่าอันเดิม

ว่าแต่ผมทำยังไง ? โปรแกรม Zotero ใช้ Citation Style Language (CSL) ในการกำหนดรูปแบบของอ้างอิงกับรรณานุกรมว่าจะออกมาเป็นแบบไหน ถ้าให้ผมศึกษา CSL เอง เป็นปีคงไม่เสร็จ ผมจึงใช้ https://editor.citationstyles.org/visualEditor/ ช่วยปรับแต่ง The American Psychological Association ให้ออกมาเป็นรูปแบบของ มข. ใช้เวลาว่างประมาณ 3 อาทิตย์เสร็จ :D


สนใจโหลด KKU CSL ได้ที่ https://github.com/wannaphongcom/KKU-CSL

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฝึกงาน IST @ VISTEC : วันที่ 0 เข้าหอพัก

สวัสดีครับ ช่วงปิดเทอมของปี 2 ผมได้โอกาสไปฝึกงานกับ IST ที่ VISTEC ในโครงการ "IST Research Internship 2019"

เชื่อมต่อ kku-wifi-s ใน Linux (ใช้งานได้กับ Raspberry Pi)

สวัสดีครับ ผมได้ใช้ Raspberry Pi แต่ผมติดปัญหาที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s  ได้ เนื่องจากการตั้งค่าที่เป็นปัญหา ทำให้ผมหาวิธีจนสามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s ได้ โดยทำตามวิธีดังนี้ครับ