ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Open Source แสนดี: ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการสั่งการด้วยเสียงและ IoT

หลังจากได้รับเงินสนับสนุน NSC รอบ 2 เราก็ได้โอกาส Open Source โค้ดกับเอกสารที่ทำทั้งหมดในการแข่งขัน NSC ที่ผ่านมา ในโครงการ "แสนดี: ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการสั่งการด้วยเสียงและ IoT" เข้าไปดูโค้ดกันได้ที่ แสนดี: ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการสั่งการด้วยเสียงและ IoT

GitHub Actions ครอง PyThaiNLP (เกือบทั้งหมด)

วันนี้เป็นวันเสาร์ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา คือ อยู่ดี ๆ ตัว Travis CI ก็พังแบบไร้สาเหตุ ... ซึ่งเป็นตัวสำหรับทดสอบการทำงานโค้ด PyThaiNLP และ เชื่อมกับ coveralls (เราใช้ coveralls.io) เป็นตัวรับประกันว่าโค้ดทดสอบสามารถทดสอบโค้ด PyThaiNLP ไปได้ทั้งหมดก็ % ผมเลยลองเปลี่ยน coveralls จากเดิมที่รันส่งผลจาก Travis CI มาเป็น GitHub actions แทน ซึ่งง่ายกว่าที่คิด แถมรู้ผลเร็วกว่าเดิม ก่อนหน้านี้ ระบบออกรุ่นใหม่ (เราใช้อัตโนมัติ) แค่กด releases ของ GitHub ตัว Travis CI จะ build และส่ง PyThaiNLP รุ่นใหม่เข้า PyPI ให้เองอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ cmd เอง ตรงนี้เราก็ย้ายมา GitHub Actions แล้วปัจจุบัน Test จากเดิม Travis CI ปัจจุบันก็กลายเป็น GitHub Actions โดยตอนนี้เหลือแค่ appveyor สำหรับ Test บน windows เฉพาะ ซึ่งทำงานได้ดีและเสถียรกว่า Travis CI สรุป ตอนนี้ GitHub Actions ครอง PyThaiNLP เกือบทั้งหมดแล้ว และ ปิดการทำงาน Travis CI ของ PyThaiNLP (ตั้งแต่ปี 2016 (มั้ยนะ) - 2020) เรียบร้อย ป.ล.ตอนที่ Travis CI พัง ตัว GitHub Actions กับ appveyor ที่รัน test ก็ทำงานปกติ ...

บรรณานุกรมกับ Zotero เรื่องน่าปวดหัวของนศ.มข.

เอาล่ะ ก่อนอื่นเรามาเริ่มที่บรรณานุกรม คืออะไร แบบย่อ ๆ บรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงเอกสารหรือเอกสารอ่านเพิ่มเติมที่เรานำมาจัดทำรายงาน หนังสือ รวมไปถึงวิทยานิพนธ์ด้วย เป็นการอ้างอิงกันทางวิชาการถือเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและต้องมี ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง

ฝึกงาน IST @ VISTEC : วันที่ 2 งานเปิด AI Research Institute of Thailand ที่ depa

วันนี้ผมได้ไปร่วมงานเปิด "สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย" หรือ AI Research Institute of Thailand โดยเป็นโครงการร่วมมือกันระหว่าง VISTEC กับ depa ในการพัฒนา AI ในประเทศไทย

ฝึกงาน IST @ VISTEC : วันที่ 1 ไป IST

สวัสดีวันฝึกงานวันแรก วันนี้ถึงเป็นวันหยุด แต่ที่ IST หรือในชื่อ School of Information Science and Technology ไม่ได้หยุดทำการ ยังมีนักวิจัยอยู่ ผมกับพี่ 3 คน เลยไป IST โดยอาศัยจักรยานของโรงเรียนกำเนิดวิทย์ที่ขอยืมคุณครูมา เขาประสานรปภ. ให้เปิดประตูลัดเชื่อมระหว่างกำเนิดวิทย์กับ VISTEC ให้ ไม่เช่นนั้น คงปั่นจักรยานไกลกว่าเดิม

ฝึกงาน IST @ VISTEC : วันที่ 0 เข้าหอพัก

สวัสดีครับ ช่วงปิดเทอมของปี 2 ผมได้โอกาสไปฝึกงานกับ IST ที่ VISTEC ในโครงการ "IST Research Internship 2019"

บันทึกทดลองสร้าง OS

อันแรกต้องติดตั้ง NASM sudo apt-get install nasm loader.asm ========== global loader extern dmain MODULEALIGN equ 1<<0 MEMINFO equ 1<<1 FLAGS equ MODULEALIGN | MEMINFO MAGIC equ 0x1BADB002 CHECKSUM equ -(MAGIC + FLAGS) section .text align 4 MultiBootHeader: dd MAGIC dd FLAGS dd CHECKSUM STACKSIZE equ 0x4000 loader: mov esp, stack+STACKSIZE push eax push ebx call dmain cli hang: hlt jmp hang section .bss align 4 stack: resb STACKSIZE =============== จะนั้นใช้เทอร์มินัล มาโพรเดอร์ที่เก็บไฟล์ nasm -f elf -o loader.o loader.asm สร้างไฟล์ kernel.c โค้ด ============== void dmain(void*mbd,unsigned int magic) {     if(magic != 0x2BADB002)     {         clearscreen();         print("Error: Invalid magic number!",0x04);     }     else     {         clearscreen();         print("Hello World!",0x07);//04,07คือรหัสสีบนDOS     } } void print(char*message,int color) {     char* mem = (char*)(0xb8000);     while(*message != 0)     {         *mem = *message;         mem+