ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เชื่อมต่อ kku-wifi-s ใน Linux (ใช้งานได้กับ Raspberry Pi)

สวัสดีครับ ผมได้ใช้ Raspberry Pi แต่ผมติดปัญหาที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s  ได้ เนื่องจากการตั้งค่าที่เป็นปัญหา ทำให้ผมหาวิธีจนสามารถเชื่อมต่อ kku-wifi-s ได้ โดยทำตามวิธีดังนี้ครับ

การแปลงเลขฐาน

แบบง่าย ๆ เอาจำนวนที่ต้องการแปลงมาหารสั้นด้วยเลขฐานที่ต้องการแปลง แล้วเก็บเศษไว้ แล้วเอาเศษจากล่างขึ้นบนเป็นเลขฐาน

Pseudocode: หลักการทำงาน Stack บน array

แกะการทำงาน satck บน array  Pseudocode: N=5 // number for size stack data structures top=-1 STACK[N] STACK-EMPTY()     if top = -1         return true     else return false PUSH(x)     if (top+1) >= N         then error ”overflow”     else         top <- top + 1         STACK[top] <- x POP()     if STACK-EMPTY()         then error ”underflow”     else top <- top – 1     DATA = S[top + 1]     S[top + 1] < - Empty     return DATA SIZE()     return top+1

เมื่อมีคนว่าผมหยิ่ง?

เมื่อไม่นานมานี้ มีใครก็ไม่รู้มาว่า ผมหยิ่ง ก็ล่ะนะ ทำไงได้ ผมห้ามความคิดใครไม่ได้ แต่ที่ผมทำได้ คือ แบนเฟสบุคซะ เพราะคำที่หลุดออกมาบ่งบอกถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกแถมอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง RIP ด้วยนะครับ ผมไม่ได้หยิ่ง คนที่รู้จักผม จะรู้ว่าผมไม่ได้หยิ่ง แต่ผมไม่ชอบทำอะไรที่ไม่ค่อยเข้าท่า

Smart Countryside ?

มีแต่คนพูด smart city กัน เมื่อไรจะมีการพูดถึง smart countryside พัฒนาชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยความสะดวกสบายและเหมาะสมในการทำการเกษตรกรรมและการใช้ชีวิตในชนบท , การประมวลวางแผนการทำเกษตรกรรม , การกระจายข่าวภายในชุมชน , ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน , การแชร์ทรัพยากร แบ่งปันกัน , การเตือนภัย , การซื้อสินค้าจากร้านโซ่ห่วยที่ใกล้บ้าน , ป้องกันสัตว์ในการเกษตรถูกขโมย เช่น เป็ด หมู วัว ควาย และอื่น ๆ เป็นต้น มันต้องง่าย สะดวก ในการเข้าถึง แม้ผู้ที่ไม่ถนัดเทคโนโลยีก็สามารถใช้งานได้ง่าย ๆ และต้องไม่ใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารเหล่านี้อย่างเดียว

โปรแกรมที่ปิดโค้ดหรือโปรแกรมที่เปิดโค้ด อันไหนมีความปลอดภัยมากกว่ากัน ?

 นกเป็นผู้นักพัฒนาระบบกำลังมองว่าโปรแกรมนำมาใช้งาน โดยตัวเลือกมีทั้งโปรแกรมที่ปิดโค้ดและโปรแกรมที่เปิดโค้ด นกตัดสินใจไม่ถูกว่าโปรแกรมอันไหนดีกว่ากัน เรามาหาคำตอบกัน โปรแกรมที่ปิดโค้ด เป็นโปรแกรมที่ปกปิดโค้ดการทำงานของโปรแกรม เพราะเหตุผลทางด้านการค้าหรือใด ๆ ตัวอย่างโปรแกรมที่ปิดโค้ดนี้ได้แก่ Windows , Word เป็นต้น ในขณะที่โปรแกรมที่เปิดโค้ด เป็นโปรแกรมที่เปิดโค้ดและการทำงานโปรแกรมให้ได้ดูกัน โปรแกรมที่เปิดโค้ดมีทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี ได้แก่ แกนลินุกซ์ , Red Hat Linux เป็นต้น แต่ว่าโปรแกรมแบบไหนมีความปลอดภัยมากกว่าล่ะ ? โปรแกรมที่เปิดโค้ด มีข้อดีคือ เปิดการทำงานโปรแกรม ผู้ที่นำโปรแกรมไปใช้งานสามารถตรวจสอบโค้ดและปรับแต่งการทำงานให้เหมาะสมได้ และ เมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัย สามารถรายงานโดยตรงกับนักพัฒนาโปรแกรมนั้นได้ หากนักพัฒนาเลิกพัฒนาเวชั่น/โปรแกรม ก็ยังคงสามารถรับ path ความปลอดภัยจากชุมชนได้ เป็นต้น โปรแกรมที่ปิดโค้ด มีข้อดีคือ มีการทดสอบโปรแกรมและคอยออก Path แก้ไขข้อผิดพลาดจากโปรแกรมโดยตรงจากบริษัทที่พัฒนา มีค่าหัวให้กับแฮกเกอร์ที่หาช่องโหว่โปรแกรมและรายงานกลับไปได้ (โปรแกรมที่เปิดโค้ดบ

เล่าประสบการณ์ร่วมพัฒนาโปรเจค open source ของ Google บน GitHub

เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผมได้มีโอกาสใช้ pygtrie ( https://github.com/google/pygtrie ) ซึ่งเป็นโมดูลสำหรับโครงสร้างข้อมูล trie ใน Python ของ Google แต่ผมกลับติดตั้งมันลงใน Windows 10 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหา UnicodeDecodeError ของ setup.py ที่เกิดจากการอ่านไฟล์ภายนอก -_- (เป็นปัญหาคลาสิคของ Python เนื่องจากเครื่องผมตั้งเป็นภาษาไทย) ผมจึงตั้ง https://github.com/google/pygtrie/issues/16 แล้วทำการ fork ไปแก้ Bug แล้วส่ง Pull requests กลับมาให้กูเกิล เจอ Googlebot ทักทายทันที มันให้ทำการ sign กับ Google ก่อน ไม่เข้า sign มันจะไม่รับ Pull requests ผมจึงเข้าไป sign กับ Google ที่ https://cla.developers.google.com/clas เสร็จแล้วพิมพ์ I signed CLA. จากนั้น Googlebot ก็ทักทายตอบกลับ :) ไม่ถึง 2 วัน กูเกิลก็รับ Pull requests ผมเข้าไปยัง pygtrie แล้ว :) การ sign กับ Google ใช้เวลารวดเร็วมาก และไม่ซับซ้อน เป็นประสบการณ์ดี ๆ ที่เคยได้ร่วมเป็น contributors กับโปรเจค open source ของ Google บน GitHub ถ้าคุณเจอ Bug กับโปรเจคโครงการอะไรบน GitHub แล้วคุณแก้ได้ ขอให้คุณทำการ fork แล้วส่ง